วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Re-Design > Thai Eco-Label ฉลากเขียว

อ้างถึง Ec0-Label ซึ่งโพสต์ไว้เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 52

จากแนวความคิดดังกล่าวให้นักศึกษาออกแบบ Eco-Label หรือ ฉลากเขียวของไทยใหม่ โดยคงแนวความคิด การสื่อความหมายเดิม และความเป็นสากลให้ได้  (น.ศ. ส่วนหนึ่งได้ใช้เวลาในชั่วโมงเรียนในวันพฤหัสบดีที่ 2 ก.ค. 52 ประมาณ 20 นาที sketch แบบร่างอย่างคร่าวๆ)

ให้นักศึกษา Re-Design > Thai Eco-Label คนละ 3 แบบ/แนวคิด
  • ส่งในกระดาษ A4 จำนวน 3 แผ่น  แผ่นละ 1 แนวคิด
  • ในแต่ละแผ่นจะต้องประกอบด้วย
  1. ชื่อโครงการ
  2. ชื่อนักศึกษา
  3. ฉลาก  สามารถเป็นแบบสีเดียวและมากกว่าหนึ่งสีได้ โดยให้เสนอฉลากหลักขนาด 100% ฉลากขนาดเล็กลง 70% และ 40% จัดวางอยู่ในแผ่นเดียวกัน
  4. แนวความคิด
  • แบบร่าง sketch มือต่างๆ
  • รวบรวมส่งในแฟ้มใส สันข้างเช่นเดิม
  • นำไฟล์งานทั้ง 3 แนวคิดไปโพสต์ใน blog ของตนเอง
ส่งงาน ในวันพฤหัสบดีที่ 16 ก.ค. 52 ภายในชั่วโมงเรียน

9 ก.ค. 52 present โครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อ้างถึง โครงการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งให้นักศึกษาเลือกโครงการที่ตนเองสนใจ 2 โครงการ โดยศึกษา ข้อมูล รายละเอียด แนวความคิด วิเคราะห์ ตัวอย่าง ปัญหา แนวทางแก้ไข ความคิดเห็น ฯลฯ นำไปโพสต์ใน blog ของตนเองนั้น (ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อชื่อเดียวกัน post วันที่ 20 มิ.ย. 52)

ในวันพฤหัสบดีที่ 9 ก.ค. 52 เวลา 9.00 น. ให้นักศึกษาลงชื่อและเริ่ม present โครงการดังกล่าวของตนเอง 1 โครงการ (เท่านั้น) โดยเลือกจากที่ตนเองสนใจที่สุดและคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวิชา CD 473 นี้
  • น.ศ. แต่ละคนจะมีเวลา present โครงการภายใน 5 นาที
  • presentation สามารถทำในรูปแบบ PowerPoint, PDF, JPG *กรุณาตรวจทานก่อนว่าไฟล์ของท่านสามารถเปิดได้บนเครื่องในห้องเรียน
  • ส่ง presentation และโครงการที่เลือกมาทั้ง 2 โครงการ print out ขนาด A4 ในแฟ้มใสใส่สันด้านข้าง
เกณฑ์การให้คะแนน 
  • presentation > เนื้อหา ความพร้อม ตัวอย่าง ภาพประกอบ   =   10 คะแนน
  • แฟ้ม   =   10 คะแนน

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

UP


Sustainable Design

การออกแบบอย่างยั่งยืน Sustainable Design คือ การออกแบบที่ส่งผลดีต่อโลก สร้างความสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลง การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ การหาทางเลือกหรือคิดค้นนวัตกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อโลกน้อยลง เป็นการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงผู้ผลิตและผู้บริโภค


การออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable design) หรือการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green design, Eco-design หรือ Design for the environment)
นับเป็นกระแสหลักของการออกแบบยุคใหม่ที่นักออกแบบหลายต่อหลายคนต่างให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน กระแสที่ว่ากำลังได้รับความสนใจในหลายวงการไม่ว่าจะเป็นวงการสถาปัตยกรรม การออกแบบภูมิทัศน์ การออกแบบและวางผังเมือง วิศวกรรม การออกแบบกราฟฟิก การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบภายใน หรือแม้แต่การออกแบบแฟชั่น

แท้จริงแล้วความหมายของการออกแบบอย่างยั่งยืนนั้น มีความเกี่ยวข้องตั้งแต่การออกแบบวัตถุขนาดเล็กไปจนถึงการออกแบบสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ อย่างตึกรามบ้านช่องหรือแม้แต่การสร้างเมือง สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการบริการที่สอดคล้องกับกฎทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน

การออกแบบอย่างยั่งยืนให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ให้น้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งยังพยายามเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้มากที่สุด โดยมุ่งสร้างวิถีการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกด้านต่างๆ อาทิ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรที่เป็นผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างมหาศาล การเสียภาวะสมดุลทางสิ่งแวดล้อมและการขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการออกแบบที่ยั่งยืนจึงนับเป็นวิธีการในการคงคุณภาพชีวิตอันสมบูรณ์ด้วยวิธีการออกแบบอันชาญฉลาด เพื่อทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมดังเช่นในอดีต อาจพูดได้ว่าการออกแบบอย่างยั่งยืนนี้ไม่ได้เป็นเพียงส่วนเสริมของการออกแบบสถาปัตยกรรม แต่กลายเป็นกระบวนการสำคัญของศาสตร์และศิลป์แห่งการออกแบบเกือบทุกแขนงไปเป็นที่เรียบร้อย

keywords :

ทรัพยากรที่นำมาใช้

ผลที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

มนุษย์




- www.tcdc.or.th/articles.php?act=view&id=35

- www.mioculture.com

- http://reestore.com/products.htm

- www.mioculture.com

- www.freitag.ch/shop/FREITAG/page/frontpage/detail.jsf

- www.alchemygoods.com

หลัก 4R คือ?

Eco Design มีกรอบความคิดหลักคือ ครอบคลุมวงจรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถแบ่งกระบวนการออกเป็นช่วงๆ ให้ชัดเจนได้ คือ

การวางแผนการผลิต (Planning Phase)  >  ช่วงการออกแบบ (Design Phase)   >  ช่วงการผลิต (Manufacturing Phase)   >  ช่วงการนำไปใช้ (Usage Phase)   >  และช่วงการทำลายหลังการใช้เสร็จ (Disposal Phase)


ซึ่่งหลักการสำคัญก็คือ หลัก 4 R นั่นเอง 

  • Reduce หรือลด ก็คือการลดการใช้ทรัพยากรในช่วงต่าง ๆ ของวงจรผลิตภัณฑ์ เช่น การลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ เริ่มตั้งแต่ลดการใช้กระดาษในการออกแบบไปเลย ลดการใช้ทรัพยากรในการออกแบบ ลดอัตราการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต ลดอัตราการใช้พลังงานในระหว่างการใช้งาน 
  • Reuse หรือใช้ซ้ำ ทั้งที่เป็นการใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิม หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ตาม หรือที่เรียกว่า การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Design for Reuse) เช่น การออกแบบให้ผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นมีชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกันได้ เมื่อรุ่นแรกหยุดการผลิตแล้วยังสามารถเก็บคืนและนำบางชิ้นส่วนมาใช้ในการผลิตรุ่นต่อไปได้ 
  • Recycle หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ แล้วนำกลับมาใช้โดยการออกแบการใช้งานผลิตภัณฑ์เพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ จะต้องเอื้อต่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การออกแบบให้ถอดประกอบได้ง่าย (Design for Disassembly) การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Design for Recycle) เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบพลาสติกหรือกระดาษที่ง่ายต่อการนำกลับมาใช้ 
  • Repair หรือการซ่อมบำรุง ก็คือการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการซ่อมบำรุงได้ง่ายจะเป็นการยืดอายุช่วงชีวิตของการใช้งาน (Extended Usage Life) ซึ่งท้ายที่สุดสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ออกแบบให้เปลี่ยนอะไหล่ได้ง่าย

- หนังสือสกุลไทย ปีที่ 54 ฉบับที่ 2805 ประจำวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2551 หน้า 102
- www.thaienv.com